เมนู

อรรถกถาวิโมกขสูตรที่ 6


วิโมกขสูตรที่ 6

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า วิโมกฺขา ความว่า ชื่อว่าวิโมกข์เพราะสภาวะอะไร
เพราะสภาวะที่พ้นยิ่ง. ก็คือว่า สภาวะที่พ้นยิ่ง นี้คืออะไร ? คือ
สภาวะที่พ้นยิ่ง ด้วยดีจากธรรมอันเป็นข้าศึก และสภาวะที่พ้นยิ่ง
ด้วยดี จากอำนาจความยินดียิ่งในอารมณ์. ท่านอธิบายไว้ว่า ความ
เป็นไปในอารมณ์ เพราะสภาวะที่ปราศจากความระแวงสงสัย โดย
ความไม่ยึดมั่น เหมือนทารกนอนปล่อยตัวบนตักบิดา ฉะนั้น. แต่
ความหมายนี้ ไม่มีในวิโมกข์หลัง มีในวิโมกข์ก่อนทั้งหมด.
ในบทว่า รูปี รูปนานิ ปสฺสติ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- รูปคือ
รูปฌานที่ให้เกิดขึ้นแล้วด้วยอำนาจ นีลกสิณเป็นต้น ในอารมณ์
ทั้งหลายมีผมเป็นต้นในภายใน รูปฌานนั้นมีแก่ภิกษุนั้น เหตุนั้น
ภิกษุนั้น ชื่อว่ารูปี ผู้มีรูปฌาน. บทว่า พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ
ความว่า ภิกษุผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป มีนิลกสิณเป็นต้น แม้ที่มี
ในภายนอกด้วยฌานจักษุ ด้วยคำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
รูปาวจรฌานทั้ง 4 ของบุคคลผู้ให้ฌานเกิดในกสิณทั้งหลาย อัน
มีที่ตั้งทั้งภายในและภายนอก. บทว่า อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺญี ความว่า
ผู้ไม่กำหนดรูปในภายใน อธิบายว่า ไม่ให้รูปาวจรฌานเกิดขึ้น
ในอารมณ์มีผมเป็นต้นของตน. ด้วยคำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงรูปาวจรฌานของบุคคลผู้กระทำบริกรรมในภายนอกแล้ว
ให้ฌานเกิดขึ้นในภายนอกนั่นเอง. ด้วยคำว่า สุภนฺเตว อธิมุตฺโต โหติ